รีวิวหนัง Spider-Man No Way Home
เรื่องย่อ เอาละครับเป็นครั้งแรกที่ ‘Spider-Man’ ไม่ต้องซ่อนตัวใต้หน้ากากอีกต่อไป และเขาไม่สามารถแยกชีวิตในฐานะซูเปอร์ฮีโรออกจากชีวิตปกติได้อีกต่อไป เมื่อเขาไปขอให้ด็อกเตอร์สเตรนจ์ช่วยเหลือ แต่มันกลับกลายเป็นวุ่นวายกว่าเดิม บังคับให้เขาต้องหาทางแก้ไขและหาความหมายของการเป็นสไปเดอร์แมน หนังเรื่องนี้จะแนะนำสิ่งที่เรียกว่า Multiverse ในจักรวาลมาร์เวลอย่างเป็นทางการ พร้อม ๆ กับวายร้ายจากทั้ง ‘Spider-Man’ และ ‘The Amazing Spider-Man’ ก็จะมาปรากฎตัวด้วยเช่นกัน
แต่ทว่าชะตากรรมของเพื่อนบ้านผู้แสนดีอย่าง ‘สไปเดอร์-แมน’ จะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นทุกที ๆ ครับ หลังจากที่ปีเตอร์รับงานฮีโรระดับเบอร์รองมาแล้วใน 2 ภาคก่อน ภาคนี้ในฐานะที่เป็นหนังในช่วงต้นของ MCU ในเฟส 4 ที่กำลังเดินหน้าปูพื้นเรื่องราวแบบ ‘พหุจักรวาล’ หรือ ‘มัลติเวิร์ส’ (Multiverse) เพื่อขยายขอบเขตวิธีการเล่าเรื่องให้กว้างกว่าแนวแอ็กชันแบบเดิม
ซึ่งตอนนี้มีซีรีส์ใน Disney+ ที่ปูพื้นเรื่องนี้ไว้ก่อนแล้วทั้ง ‘Loki’ และแอนิเมชัน ‘What If…? ‘ ซึ่งซีรีส์ทั้งสองเรื่องนี้เป็นตัวสรุปอย่างชัดเจนว่า มัลติเวิร์สคือแกนหลักสำคัญและความโกลาหลครั้งใหญ่ที่เหล่าฮีโรต้องรับมือให้ได้ ซึ่งในหนังเรื่องนี้นั้นก็ดูเหมือนว่าความโกลาหลนั้นได้ปรากฏชัดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว และไอ้แมงมุมก็ถือว่าเป็นฮีโรตัวแรก ๆ ที่ต้องรับผลแห่งความโกลาหลนี้แบบชัด ๆ ต้องติดตามที่ เว็บดูหนัง
ในส่วนเรื่องราวของในภาคนี้ก็จะเล่าต่อจาก End Credits ตัวแรกที่ทิ้งเอาไว้ในภาคก่อนหน้า (Spider-Man : Far From Home (2019)) ซึ่งถ้าใครเนี่ยที่ยังไม่ได้ดู ก็ต้องขอเบรกให้ไปหาดูก่อนให้เรียบร้อยก่อนนะครับ (ทั้งสองภาคมีให้ดูใน HBO GO) เพราะว่าเนื้อเรื่องของภาคนี้จะเริ่มต้นมาจาก End Credits ตัวนั้นแหละ หลังจากที่สไปเดอร์แมนสามารถโค่น ‘มิสเทริโอ’ (Jake Gyllenhaal) ได้สำเร็จ
หลังจากมิสเทริโอก็วางระเบิดตูมสุดท้ายด้วยการปล่อยคลิปเฟกนิวส์ผ่านจอ LED ที่กล่าวหาว่าปีเตอร์นั้นเป็นคนสังหารเขาอย่างป่าเถื่อน กล่าวหาว่าปีเตอร์โอ่อ้างจะเป็นไอรอนแมนคนถัดไป ข่าวนี้ยังไปถึงหู ‘เจ. โจนาห์ เจมส์สัน’ (J.K. Simmons) นักข่าวสำนักข่าวออนไลน์ TheDailyBugle ออกมาแฉ (จากข้อมูลของมิสเทริโอ) จนทำให้คนทั้งโลกรู้กันไปทั่วว่าสไปเดอร์แมนคือปีเตอร์ ปาร์คเกอร์
รีวิวหนัง Spider-Man No Way Home
ต่อมาในภาคนี้ แน่นอนว่า ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เพื่อนบ้านที่แสนดี ถูกภัยเฟกนิวส์ตราหน้าจนทำให้ใช้ชีวิตยากลำบากกว่าเดิม แถมพาให้คนรอบข้างทั้งคนรักอย่าง ‘เอ็มเจ’ (Zendaya) เพื่อนซี้สาย Geek อย่าง ‘เน็ด ลีดส์’ (Jacob Batalon) และ ‘ป้าเมย์’ (Marisa Tomei) ต่างพากันเดือดร้อนกันไปด้วย
ปีเตอร์เลยจำต้องไปขอความช่วยเหลือกับหมอแปลก ‘ดอกเตอร์สเตรนจ์’ (Benedict Cumberbatch) และก็เพื่อให้ช่วยร่ายมนต์ลบความทรงจำของผู้คนว่าปีเตอร์ ปาร์คเกอร์คือสไปเดอร์-แมน แต่ด้วยความผิดพลาดบางอย่าง ผลก็คือทำให้วายร้ายจากมัลติเวิร์สหลุดเข้ามาปั่นป่วนโลกของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์จนกลายเป็นเรื่องใหญ่ระดับจักรวาล ติดตามได้ที่ เว็บดูหนังไม่มีโฆษณา
แล้วก็ในแง่ของการดำเนินเรื่อง ในภาคนี้ก็ยังคงมีรสชาติ กลิ่นอาย และธีมของหนังจากภาคก่อน ๆ อยู่นะครับ โดยเฉพาะองก์แรก ซึ่งผู้กำกับอย่าง ‘จอน วัตต์ส’ (Jon Watts) ที่รับเหมากำกับแฟรนไชส์หนังชุดนี้มาจนกลายเป็นไตรภาคแล้ว ก็ยังคงคุมสีสันความเป็นหนังวัยรุ่นที่แฝงเรื่องราวแบบฉบับของวัยว้าวุ่น สิบห้าหยก ๆ สิบหกหย่อน ๆ มุกฮา ๆ วีรกรรมห่าม ๆ
และหนังสไตล์ Coming Of Age ซึ่งพอมาถึงภาคนี้ จึงต้องชื่นชมวิธีการเล่าเรื่องเป็นอย่างแรกเลยครับ เพราะว่าตัวหนังสามารถไต่ระดับการเล่าจากเล็กไปหาใหญ่ และใหญ่ระดับจักรวาลได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนมาก นั่นอาจจะทำให้การเดินเรื่องในองก์แรกช้าอยู่บ้าง โดยมีฉากแอ็กชันคอยกระตุ้นกราฟอยู่เนือง ๆ แต่ตัวบทก็ถือว่าทำได้ฉลาดและไหลลื่นไม่สะดุดตรงไหนให้กวนใจเลย
เนื้อเรื่่องหลัก ๆ ในคราวนี้จึงไม่ใช่แค่การต่อสู้กับวายร้ายเท่านั้น แต่ยังต้องยอมรับทางเลือกที่เขาเองได้เลือกไว้ด้วย ซึ่งตรงนี้ต้องขอชื่นชมว่าสามารถคงแก่นแกนนี้เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ปูเรื่องและตามมาเก็บกลับได้อย่างสะเทือนใจเรียกน้ำตามาก ๆ แถมยังเป็นการทิ้งท้ายได้อย่างน่าสนใจและน่าคิดต่อไปด้วยว่า จากนี้ ชีวิตของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ที่เลือกเส้นทางนี้และยอมรับผลของมันแต่โดยดี จะยังคงดำเนินชีวิตในฐานะปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ และในฐานะสไปเดอร์-แมนต่อไปได้อย่างไร ภายใต้บทสรุปชีวิตโคตรจะสะเทือนใจขนาดนั้น
ส่วนของการดำเนินเรื่อง เอาจริง ๆ แม้ตัวหนังจะปูว่ากำลังเดินหน้าเข้าสู่มัลติเวิร์ส แต่ตัวหนังเองก็ยังไม่ได้ถึงกับลงลึกอะไรขนาดนั้นนะครับ (เข้าใจว่าคงจะเอาไว้ลงลึกใน ‘Doctor Strange in the Multiverse of Madness’ ที่จะฉายปีหน้านั่นแหละ) แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความเป็นมัลติเวิร์สที่ใส่เข้ามา มันช่างเหมาะเจาะกับจังหวะการ Coming Of Age ของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์เสียจริง ๆ เพราะว่าในสองภาคก่อน เราจะได้เห็นน้องปีเตอร์เลียบ ๆ เคียง ๆ ป๋าโทนี สตาร์ก ในการรับภารกิจปราบฮีโรเบอร์รอง
พอมาคราวนี้ การเปิดมัลติเวิร์ส ทำให้ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ต้องเผชิญกับตัวร้ายระดับบิ๊กในพหุจักรวาลอื่น แถมเอาเข้าจริง แม้จะมีหมอแปลกมาช่วยในภาคนี้ แต่ด้วย ‘เหตุผลบางอย่าง’ ก็ทำให้หมอแปลกไม่ได้ถึงกับช่วยได้ในระดับที่ป๋าโทนี่ช่วยแบบในภาคก่อน ๆ (ตรงกันข้าม เน็ดกับเอ็มเจยังช่วยมากกว่าซะอีก (555)
ผลก็คือ ตัวปีเตอร์เองก็จะเติบโตขึ้นกลายมาเป็นฮีโรตัวจริง และต้องรับบท “ผู้นำการต่อสู้” รับมือกับเหตุการณ์ระดับมัลติเวิร์สด้วยตัวเอง และก็ถือว่าเป็นการปูทางสู่มัลติเวิร์สใน MCU เฟส 4 ได้ดีและเห็นภาพได้ชัดยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วย
แล้วก็สำหรับใครที่เป็นพ่อยกแม่ยกน้องทอม ฮอลแลนด์ ก็ต้องขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ เพราะว่าในภาคนี้ น้องทอมโตแล้ว การแสดงของทอม ฮอลแลนด์ในภาคนี้ถือว่ากินขาดและเป็น MVP ของหนังจริง ๆ ฝีมือการแสดงและการแสดงอารมณ์สะเทือนใจในเรื่องนี้ของเขาเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นเลยว่า น้องทอมโตขึ้นจนสามารถเห็นริ้วรอยความสับสนในชีวิตช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
จากวัยรุ่นมัธยมสู่วัยมหาวิทยาลัย และโตขึ้นท่ามกลางความรับผิดชอบของสไปเดอร์-แมนที่ใหญ่ขึ้น (และจะใหญ่ยิ่งขึ้นกว่านี้แน่นอน) ของปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ได้อย่างแท้จริง จนผู้เขียนแอบเชื่อไปแล้วว่า หลังจบไตรภาคนี้ ทอม ฮอลแลนด์ จะมีภาพการเป็นสไปเดอร์-แมนแบบติดหนึบแยกไม่ออก (แบบเดียวกับที่ป๋าโรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ ชอบโดนเรียกว่าไอรอนแมนนั่นแหละครับ)
นอกจากนักแสดงหลักอย่างน้องทอม และทีมนักแสดงรอบข้าง ผู้เขียนเองก็ต้องชื่นชมเหล่าน้า ๆ 5 วายร้าย ที่กลับมารับบทตัวร้ายที่ทะลุจักรวาลมานะครับ แม้ว่าเวอร์ชันดั้งเดิมของพวกเขาจะห่างจากหนังเรื่องนี้ไปนับสิบ ๆ ปี แต่พวกเขาก็สามารถกลับมาสวมตัวร้ายที่ตัวเองเคยรับบทบาทเอาได้อย่างไม่ทิ้งลายจริง ๆ
และที่สำคัญคือ การวางบทบาทให้ตัวละครทั้งห้า ในพล็อตที่มีตัวละครยุ่บยั่บวุ่นวายไปหมด แต่ตัวละครทั้งหมดถูกจัดสรรปันส่วนได้ออกมาดีมาก ๆ และแปลกมากที่ไม่ได้ไปแย่งซีนสไปดีน้องทอมเลยแม้แต่น้อย แต่ถ้าให้เลือกว่าคนไหนท็อปสุด ผู้เขียนขอยกให้คุณน้า ‘Willem Dafoe’ เจ้าของบท ‘กรีน ก็อบลิน’ ครับ แม้ว่าจะชราไปตามวัยบ้าง แต่ก็ยังสามารถรับบทวายร้ายจิตหลุดได้น่ากลัวมาก ๆ เหมือนที่เคยดูใน ‘Spider-man’ (2002) อย่างไรอย่างนั้นเเลย
มาถึงส่วนที่เรียกได้ว่าเป็นไฮไลต์ของหนังเรื่องนี้ก็คือมุกฮา ๆ ครับ ในภาคนี้ต้องเรียกได้ว่าใส่มุกฮาและตลกร้ายจังหวะนรกมาได้อย่างร้ายกาจมาก และโดยเฉพาะมุกมาจากมัลติเวิร์ส ซึ่งก็จะมีการสอดแทรกบทที่เกี่ยวพันกับหนังไอ้แมงมุมคลาสสิกทั้งสองเวอร์ชัน เรียกว่าเป็นมุกที่เรียกเสียงฮาเอาใจแฟนบอยโดยเฉพาะเลย ทั้งมุกคำพูดที่อ้างเอ่ยถึง รวมถึงการแอบใส่ซีนที่ใช้แรงบันดาลใจจากหนังเวอร์ชันคลาสสิก (ที่แฟนบอยดูแล้วเก็ตแน่นอน) รวมทั้งเซอร์ไพรส์อื่นอีกต่าง ๆ นานาที่เรียกได้ว่าเยอะมากในระดับที่จะทำให้แฟน ๆ สไปดีดูแล้วกรี๊ดแตกได้อย่างแน่นอน
แล้วไม่ว่าคุณจะมีพื้นเพเกี่ยวกับคอมิกส์มาก่อนหรือไม่ คุณอาจจะชื่นชอบหรือขัดใจหนังสไปเดอร์-แมนเวอร์ชันดั้งเดิมขนาดไหน หรืออาจจะแค่ต้องการดูหนังแอ็กชันมัน ๆ ในช่วงวันหยุดปีใหม่ หนังเรื่องนี้ก็เรียกได้ว่าตอบโจทย์ได้หมด ทั้งมุกฮาจังหวะนรก เรื่องราวดราม่าสุดสะเทือนใจจนน้ำตาซึม และเซอร์ไพรส์ชวนกรี๊ดที่สปอยล์ไม่ได้แม้แต่สักแอะ เรียกได้ว่าหนังเรื่องนี้เป็นการเปิดฉากสู่มัลติเวิร์สอย่างเต็มตัว ที่ต่อให้จะเป็นแฟนบอย หรือไม่ใช่ก็ตาม ก็น่าจะได้ฮาแตก เฮลั่น น้ำตาไหล อ้าปากค้างไปกับเซอร์ไพรส์มากมาย แต่ว่าต้องเข้าไปดูในโรงเท่านั้นนะครับ ถึงจะได้ความรู้สึกนี้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย อ่านหรือดูสปอยล์ยังไงก็สู้ไม่ได้หรอก
และหากชอบบทความนี้ อยากติดตามการรีวิวหนัง สปอยหนัง ไม่ว่าจะเป็น หนังใหม่ หรือ หนังมาแรง ทุกเรื่อง ทุกแนว ได้ที่ เว็บรีวิวหนัง